วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับเห็ดนางฟ้า (ภูฐาน)

เห็ดนางฟ้า



1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด


1.1 เห็ดเป็นราชั้นสูง เพราะมีวิวัฒนาการสูงกว่าราชนิดอื่น ๆ และมีวงจรชีวิตที่สลับซับซ้อนกว่าเชื้อราทั่วไป เริ่มจากสปอร์ซึ่งเป็นอวัยวะหรือส่วนที่สร้างเซลขยายพันธ์ เมื่อตกไปในสภาพแว้ดล้อมที่เหมาะสมจะงอกเป็นใยและกลุ่มใยรา เจริญพัฒนาเป็นกลุ่มก้อน เกิดเป็นดอกเห็ดอยู่เหนือพื้นดิน บนต้นไม้ ขอนไม้ ซากพืช มูลสัตว์ ฯลฯ เมื่อดอกเห็ดโตขึ้นก็จะสร้างสปอร์ซึ่งจะปลิวออกเป็นใยราและเป็นดอกเห็ดได้อีก


1.2 เห็ดมีบทบาทในการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการย่อยสลายสิ่งตกค้างจากซากพืช ซึ่งเป็นการลดปริมาณของเสียที่เกิดจากพืชและสัตว์โดยธรรมชาติ ฉะนั้นการเพาะเห็ดจึงทำได้ง่ายเพราะสามารถนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเช่น ขี้เลื่อย ฟางข้าว เปลือกมันสำปะหลัง ฯลฯ มาใช้ในการเพาะเห็ดได้


2. ชื่อและถิ่นกำเนิดของเห็ดนางฟ้า


“เห็ดนางฟ้า” เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในประเทศไทย คนไทยบางคนเรียกเห็ดนางฟ้าว่า “เห็ดแขก” เนื่องจากมีถิ่นกำเนิดแถบเทือกเขาหิมาลัย กล่าวคือมีผู้พบเห็นครั้งแรกว่าเห็ดนี้ขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุในแถบเมืองเจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer และมีชื่อสามัญว่า Sajor-Caju Mush room


3. เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดในสกุลนางรมเช่นเดียวกันกับเห็ดเป๋าฮื้อ ฉะนั้นลักษณะดอกเห็ดจึงคล้ายดอกเห็ดเป๋าฮื้อ ด้านบนของดอกมีสีขาวนวลถึงสีน้ำตาลอ่อน หมวกดอกเนื้อแน่นสีคล้ำ ก้านดอกสีขาวขนาดยาวไม่มีวงแหวนล้อมรอบ ครีบดอกสีขาวเส้นใยค้อนข้างละเอียด เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อสีของเห็ดนางฟ้าจะอ่อนกว่า กลีบดอกอยู่ชิดกันมากกว่า ในอินเดียมีขนาดตั้งแต่ 5 – 14 เซนติเมตร และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 -120 กรัม ส่วนเห็ดนางฟ้าในประเทศไทยที่เพาะโดยโครงการส่งเสริมการค้าและการเพยแพร่ความรู้ที่มูลนิธิปราณี โอสถานนท์ ให้ความสนับสนุนมีขนาด 13.5 เซนติเมตร และมีหนัก 2 กรัม



4. ประวัติการเลี้ยงและการนำเห็ดนางฟ้าและเห็ดสายพันธ์อื่น ๆ เข้าประเทศไทย


4.1 เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นในประเทศอินเดียเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2496 หรือ 61 ปี มาแล้ว กองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้นำเชื้อมาทดลองในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ 2520 ผลการทดลองแสดงว่าเห็ดสามารถเติบโตได้ดี


4.2 นอกจากนั้นแล้วยังมีผู้นำเห็ดจากประเทศภูฐานเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยคือเห็ดนางฟ้าภูฐาน ซึ่งมีหลายสายพันธ์และเป็นที่นิยมกันมากในการเพาะเห็ดเพื่อการค้า


5. สรรพคุณของเห็ดนางฟ้า


5.1 สรรพคุณทางยา : ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด


5.2 คุณค่าทางอาหาร : เห็ดรับประทานได้ทุกชนิดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าพืชผักหลายชนิด เห็ดนางฟ้า 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยโปรตีน 23 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรท 5.7 กรัม ในอะชิน 2.5 มิลลิกรัม


5.3 การใช้เห็ดนางฟ้าในการปรุงอาหาร : เห็ดนางฟ้ามีเนื้อแน่น รสหวานอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิดเช่น ชุบแป้งทอด ผัด ห่อหมก ยำ เมี้ยง แหนมสด ใส่ในต้มโค้งหรือต้มยำ ทำเห็ดแดดเดียวและนำไปตากแห้งเก็บไว้เป็นอาหารได้ ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น